จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

เมนูอาหาร

ขั้นตอนการทำอาหาีร

ตัวอย่างอาหาร
**แกงอ่อมหมู**

++เครื่องปรุง++ หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ถ้วย
น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
น้ำซุป 3 ถ้วย
ใบมะกรูด
++เครื่องแกง++ 
พริกแห้ง 7 เม็ด
หอมแดง 5 หัว
กระเทียม 1 หัว
ข่าซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
รากผักชีซอย 1 ช้อนชา
กะปิ 1 ช้อนชา
++วิธีทำ++ 
1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด
2 นำเครื่องแกงผัดกับน้ำมันให้หอม
3 ใส่หมูลงผัด เติมน้ำซุป เคี่ยวไปจนหมูเปื่อย
4 ใส่ใบมะกรูด ปรุงตามชอบ 


**น้ำพริกปลา**

เครื่องปรุง
พริกหนุ่มเผา 7 เม็ด
หอมแดงเผา 5 หัว
กระเทียมเผา 2 หัว
กะปิ ห่อใบตองเผา 1 ช้อนชา
น้ำปลาร้าต้มสุก 1 ถ้วย
ปลาช่อนย่าง (เอาแต่เนื้อ) 1/2 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
ผักชีซอย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1 โขลกพริก หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ
2 ใส่ปลา โขลกให้เข้ากัน
3 ใส่น้ำปลาร้า คนให้เข้ากัน ใส่ต้นหอม ผักชี ชิมดู
รับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา ผักแว่น มะเขือกรอบ

อาหาีรไทย


   สวนอาหารกุ้งเต้น บริการอาหารไทย จีน ซีฟู้ด รสชาติถูกปากถูกใจ ด้วยประสบการณ์
   และความใส่ใจใน การเสาะหาคัดเลือกวัตถุดิบชั้นดีเยี่ยม จากแหล่ง โดยคำนึงถึงความ
   สด สะอาด และคุณภาพเพื่อลูกค้าผู้บริโภคเป็นหลัก

   และยังมีบริการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ ด้วยบรรยากาศ กับเสียงเพลงเบาๆ ใน
   ช่วงยามเย็น หรือจะเลือกห้องคาราโอเกะระดับ VIP ทันสมัยเพลงใหม่ๆ ที่ให้ความรู้สึก
   ที่เป็นส่วนตัว สำหรับจะมานั่งทานอาหารเย็นกับครอบครัว และกับคนรู้ใจก็ได้

   สัมผัสกับอาหารรสชาติเยี่ยม ที่ไม่เป็นรองใครไม่ว่าจะเป็น อาหารทะเล ที่สดใหม่ทุกวัน
   ทั้งสองสาขา (สาขาถนนเกษตร - นวมินทร์, สาขาราชพฤกษ์) เปิดให้บริการคุณ ตั้งแต่
   เวลา 11.00 น. - 24.00 น. เพื่อความสะดวกสำรองที่นั่งได้ โทร.02-578-0208-10  

อาหารไทย

สถานที่ท่องเที่ยวจ.หนองบัวลำภู


ถ้ำเอราวัณ – จังหวัดหนองบัวลำภู

    ถ้ำเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลำภู นับได้ว่าเป็น สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน อีกสถานที่หนึ่ง ที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยว ในแต่ละปี เป็นจำนวนมาก เนื่องจากภายใน ถ้ำเอราวัณ มีลักษณะเป็นเหมือนห้องโถง ขนาดใหญ่มากๆ มีความสามารถบรรจุคนได้หลายร้อยคน ที่สำคัญมีหินงอกหินย้อย มองดูแล้วมีความสายงาม และลักษณะที่โดดเด่น อันมีความเป็นเอกลักษณ์ ของถ้ำเอราวัณ คือภูเขาหินสีขาว ที่ตั้งอยู่บนหน้าผา มองดูจะมีลักษณะคล้ายๆ กับรูปผู้หญิงยืน ชาวบ้านจะเรียกกันว่า ผานาง นอกจากนี้ ถ้ำเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลำภู ยังมีทางที่สามารถทะลุ ออกทางหน้าผา สามารถมองเห็น ทัศนียภาพท้องทุ่ง ซึ่งเป็นบรรยากาศ ที่มีความเป็นธรรมชาติเป็นอย่างมาก
          ถ้ำเอราวัณมีระยะทางห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภูประมาณ 47 กิโลเมตร ถ้ำเอราวัณ มีพื้นที่ตั้งอยู่บ้านผาอินทร์แปลง นักท่องเที่ยวสามารถ เดินทางโดยใช้ เส้นทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-เลย)  ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 13 จะมีทางเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็น พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า พระพุทธชัยศรีมหามุนีตรีโลกนาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ให้ความ สักการะบูชากราบไหว้ โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ดังกล่าวได้ ประดิษฐานอยู่บริเวณ ปากถ้ำ สามารถมองเห็นจากระยะไกล ถ้ำเอราวัณ นับได้ว่าเป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ มีบันไดตั้งแต่เชิงเขา เข้าไปจนถึงปากถ้ำมากกว่า 600 ขั้น

สถานที่ท่องเที่ยวจ.นราธิวาส


สถานที่ท่องเที่ยวจ.นราธิวาส

29มิ.ย.
สถานที่ท่องเที่ยวจ.นราธิวาส
ข้อมูลโดยย่อ
แต่เดิม บ้านบางนรา หรือ มะนาลอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. 2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ และพ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ “นราธิวาส” แปลว่า “ที่อยู่ของคนดี”
ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อนและซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเทวัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน
 จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 4,475.43 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ทิศเหนือจดจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดจังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย และทิศใต้จดรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
                          

สถานที่ท่องเที่ยวจ.อ่างทอง


ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง


อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว

อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่จำศีล ตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซอยปู่ดอก-ปู่ทองแก้ว 16 เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่า ที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309 อนุสาวรีย์แห่งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2520

วัดป่าโมกวรวิหาร

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง
อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 (สายอ่างทอง-อยุธยา)
กิโลเมตรที่ 40 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 329 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3501 จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก ภายในวัดแห่งนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราช ได้เสด็จมาชุมนุมพลและถวายสักการะบูชาพระพุทธรูปองค์นี้

ต่อมากระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร “ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 โปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองงานจัดการชะลอลากให้ห่างจากแม่น้ำเดิม ” (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง และนำไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์ เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย หอไตร เป็นต้น

วัดอ้อย

อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่หมู่ 10 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 3454 ประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากวัดเขียนไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาแต่จะสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่หกห้อง ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีลักษณะสวยงามคล้ายกับพระอุโบสถวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุโบสถนี้ไม่มีหน้าต่าง ลักษณะแบบนี้เรียกว่ามหาอุด รอบโบสถ์มีเสมา 8 ทิศ พระประธานเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อดำ วัดอ้อยเป็นวัดถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่ของวัดอ้อย มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กได้เปิดบ้านสำหรับให้ที่พักพิงแก่เด็กมีปัญหา เด็กเร่ร่อนติดยา หรือเคยประพฤติผิดกฏหมายชื่อว่า “บ้านเด็กใกล้วัด” เพื่อช่วยให้เด็กเหล่านี้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นได้สัมผัสธรรมชาติ และมีพระสงฆ์คอยช่วยเหลือบำบัดทางด้านจิตใจ

หมู่บ้านจักสาน

อำเภอโพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
หมู่บ้านจักสาน งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทอง ส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทอง แทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในละแวกเ
ดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอิทประมูล แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานสำคัญที่ขึ้นชื่อของจังหวัดคือ “ บ้านบางเจ้าฉ่า” ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลนี้เป็นชุมชนที่มีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่าเป็นผู้นำ นายฉ่านั้นพื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติแล้ว “นายฉ่า” จึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน เป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำน้อย แต่เดิมเรียกว่า “บ้านสร้างสามเรือน” เพราะเริ่มแรกมีเพียงสามหลังคาเรือนเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งเป็นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชื่อว่า “บางเจ้าฉ่า” เพราะนำชื่อของนายฉ่ามาตั้งชื่อ ซึ่งนายฉ่านั้นเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสาน และเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงาม สามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่า จนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ
ภายในหมู่บ้านมีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ที่ผลิตจากไม้ไผ่และมีเก็บรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ที่บางเจ้าฉ่า ยังมีบริการรถอีแต๋นชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำน้อย กิจกรรมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วง สวนมะยงชิด และสวนกระท้อน ฯลฯ ชมแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอใกล้เคียง อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอไชโย และอำเภอแสวงหา มีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้คอยบริการด้วย
การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง แหล่งหัตถกรรมจะอยู่บริเวณหลังวัดยางทอง

วัดท่าสุทธาวาส

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เวลาศึกสงครามบริเวณนี้จะเป็นเส้นทางเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้เส้นทางสาย อยุธยา-อ่างทอง (ทางหลวงหมายเลข 309) กิโลเมตรที่ 38-39 ทางเข้าวัดจะอยู่ซ้ายมือก่อนถึงตัวจังหวัดอ่างทองประมาณ 17 กิโลเมตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับวัดนี้ไว้ในพระราชอุปถัมภ์ บริเวณวัดแห่งนี้ร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ และทัศนียภาพสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ และสร้างพระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณ และโบราณวัตถุต่างๆ ข้างพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ และภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรส่วนพระองค์และนักเรียนในโครงการศิลปาชีพเขียนขึ้น เช่นเรื่อง พระมหาชนก ประวัติเมืองอ่างทอง อีกทั้งมีภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงจรดปลายพู่กันวาดผลมะม่วงไว้ด้วย 

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง
เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็น บ้านบางเสด็จ
โครงการตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จ เป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ ให้แก่ราษฎร ภายในหมู่บ้านบางเสด็จนี้ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพอันร่มรื่นและสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยังสามารถชมกา
รปั้นตุ๊กตาชาววังจากบ้านเรือนราษฎรละแวกนั้น ได้อย่างเป็นกันเอง มีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ซึ่งจะจัดให้สมาชิกมาสาธิตการปั้นตุ๊กตาชาววัง พร้อมกับจัดจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ตุ๊กตาชาววังเป็นประดิษฐกรรมดินเหนียวที่สวยงาม แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ หรือรูปผลไม้ไทยหลากหลายชนิดซึ่งล้วนมีความสวยงามน่ารัก และเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝาก หรือของที่ระลึกเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์ปั้นและจำหน่ายตุ๊กตาชาววัง เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. โทร. 0 3566 2995 

หมู่บ้านทำกลอง

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้ถนนสายใน ผ่านหน้าที่ทำการเทศบาลอำเภอป่าโมกซึ่งขนานไปกับลำคลองชลประทาน ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆ ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ทำกลองได้แก่ ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว เราสามารถชมกรรมวิธีการทำกลองตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไป จนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด กลองที่ทำมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงกลองขนาดใหญ่เช่น กลองทัด ซึ่งเราจะได้เห็นถึงฝีมือการทำที่มีคุณภาพ ประณีต สวยงามและยังสามารถซื้อไปเป็นของที่ระลึกกลับบ้าน หากผ่านหน้าบ้านกำนันหงส์ฟ้า หยดย้อย จะเห็นกลองยาวที่สุดในโลกตั้งอยู่ หน้ากลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม้จามจุรีต่อกัน 6 ท่อน สร้างปี 2537 ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี

สถานที่ท่องเที่ยวจ.หนองคาย


น้ำตกเจ็ดสี หนองคาย อำเภอเซกา » น้ำตกเจ็ดสี หนองคาย


น้ำตกเจ็ดสี หนองคาย
น้ำตกเจ็ดสี หนองคาย

น้ำตกเจ็ดสี เดิมเรียกว่า น้ำตกห้วยกะอาม ซึ่งเกิดจากธารน้ำของห้วยกะอาม น้ำตกจากหน้าผาสูงแล้วเกิดเป็นละอองไอน้ำกระทบกับแสง แดดยามบ่ายทำให้เกิดสีต่าง ๆ ขึ้น จึงเรียกน้ำตกเจ็ดสี มีทั้งหมด 3 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด หมู่ที่ 3 ตำบลบ้าน ต้อง อำเภอเซกา การเดินทางใช้เส้นทางสาย อำเภอเซกา-บ้านดงบัง ประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัด 264 กิโลเมตร
น้ำตกเจ็ดสี อยู่แถว ๆ ทางไปภูทอก จ.หนองคาย

สถานที่ท่องเที่ยวจ.ประจวบ


 


เกาะจาน" เป็นเกาะสัมปทานรังนกนางแอ่นเล็กๆ ห่างจากชายฝั่งอุทยานแห่งชาติ ทางทะเลหาดวนกร จ.ประจวบฯ 7.5 กม. นอกจากพักผ่อนริมหาด และทิวสนที่สวยงามแล้ว มีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือการดำน้ำตื้น โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลนักและค่าใช้จ่ายไม่แพง เพียงติดต่อแจ้งความประสงค์ กับ จนท.อุทยานฯ เพื่อจอง Speed Boat พร้อมอุปกรณ์ดำน้ำ ค่าใช้จ่ายเพียง 500 บาท ต่อคน ( 5 คนขึ้นไป) เท่านั้นเอง นั่งเรือออกจากชายฝั่งมาได้ไม่ถึง ครึ่งชั่วโมง ก็มาถึงแล้วครับ เกาะจาน และเกาะท้ายทรีย์



สถานที่ท่องเที่ยวจ.ชุมพร


หาดทุ่งวัวแล่น สถานที่ ท่องเที่ยว จ.ชุมพร


หาดทุ่งวัวแล่น สถานที่ ท่องเที่ยว จ.ชุมพร
ท่องเที่ยวภาคใต้
หาดทุ่งวัวแล่น เป็นชายหาดที่สวยงามขึ้นชื่อของอำเภอปะทิว ตั้งอยู่ที่ตำบลสะพลี ห่างจากตัวจังหวัดชุมพรไปตามถนนสายชุมพร-หาดทุ่งวัวแล่น ระยะทาง 16 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่มีเม็ดทรายสีขาวนวลละเอียด ทอดตัวยาวสุดสายตา ลักษณะเป็นชายหาดน้ำตื้นค่อย ๆ ลาดเอียงลงทีละน้อย เหมาะแก่การเล่นน้ำ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ส่วนทางด้านใต้ของหาดติดภูเขาจะเป็นหาดที่มีหินอยู่มากมาย

thungvualand2 หาดทุ่งวัวแล่น สถานที่ ท่องเที่ยว จ.ชุมพร

หาดทุ่งวัวแล่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งชาวไทยและต่างชาติมีรีสอร์ทให้บริการหลายระดับ มีกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลทั้งดำน้ำ ตกปลาเที่ยวเกาะ ให้บริการในหลายรูปแบบ

แท็ก คำค้นหา

สถานที่ท่องเที่ยวจ.ชลบุรี


ข้อมูลจังหวัดชลบุรี – สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี

          ข้อมูลจังหวัดชลบุรี ได้มีการเขียนบันทึกไว้ว่า จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัด ที่อยู่ทางภาคตะวันออก ของประเทศไทย จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 50 ของจังหวัดทั้งหมดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร
          จังหวัดชลบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่สำคัญของ ประเทศไทย เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ เขตอุตสาหกรรมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมทางด้านท่องเที่ยว เพราะจังหวัดชลบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยว อยู่มากมาย หลายแห่ง นอกจากอุตสาหกรรมด้านท่องเที่ยว แล้วยังมี อุตสาหกรรมทางด้าน การค้าการลงทุน การพาณิชย์ อุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ ทีสำคัญยิ่งไปกว่านั้น จังหวัดชลบุรียังเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ ไม่แพ้กับกรุงเทพ เพราะมี ท่าเรือแหลมฉบัง ที่เป็นท่าเรือใช้ในการ ขนถ่ายสินค้า ทั้งสินค้านำเข้า และสินค้าส่งออก รองจากท่าเรือกรุงเทพ
         จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยว ทางทะเล จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่ง “ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสารดี ประเพณีวิ่งควาย” จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร เพียง 81 กิโลเมตร เท่านั้น จึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นจำนวนมาก


อาณาเขต จังหวัดชลบุรี
  • ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ
  • ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดระยอง
  • ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี
  • ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

สถานที่ท่องเที่ยวจ.ชัยภูมิ

ล่องแพที่เขื่อนโนนเขวา 



สัมผัสบรรยากาศแห่งสายน้ำพรมท่ามกลางอ้อมกอดของผืนป่าเขาเขียว ณ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยการล่องแพชมธรรมชาติ เขื่อนโนนเขวาตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้านที่อยู่ใกล้อันเป็นที่ตั้งของตัวเขื่อน ชื่อว่าบ้านโนนเขวา จึงตั้งชื่อเขื่อนตามชื่อหมู่บ้าน และตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลโนนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ การเดินทางถ้าเริ่มจากจังหวัดชัยภูมิ ก็มุ่งตรงมายังอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งมาได้ 2 ทาง คือ ชัยภูมิ - หนองบัวแดง - เกษตรสมบูรณ์ ระยะทาง ประมาณ 86 กม. หรือ ชัยภูมิ - แก้งคร้อ - ภูเขียว -เกษตรสมบูรณ์ ระยะทาง 100 กม. จากเกษตรสมบูรณ์ - เขื่อนโนนเขวา ต.โนนทอง ระยะทางประมาณ 14 กม. 

สถานที่ท่องเที่ยวจ.นครราชสีมา


ท่องเที่ยวธรรมชาติ นครราชสีมา

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง ผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาคกลางและภาคอีสาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 ได้มีชาวบ้านประมาณ 30 ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่ สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน

สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น บางส่วนของพื้นที่เป็นทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่ามากมายทั้งไม้เศรษฐกิจ ไม้หอม และสมุนไพรต่าง ๆ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร และยอดเขาอื่น ๆ ที่สำคัญมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,300 เมตร ได้แก่ เขาแหลม เขาเขียว เขาสามยอด เขาฟ้าผ่าสูง เขากำแพง เขาสมอปูนและเขาแก้ว ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่สูงชัน ส่วนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกพื้นที่ลาดลง จากระดับความสูงของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ ทำให้เขาใหญ่มีอากาศเย็นสบายแม้ในฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวราวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด
ส่วนในช่วงฤดูฝน สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดใส น้ำตกทุกแห่งไหลแรงเสียงดังก้องป่า ให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือนแม้การเดินทางจะค่อนข้างลำบาก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย

ป่าเขาใหญ่มีไม้มีค่าและพืชสมุนไพรนานาชนิดที่สมควรได้รับการดูแลอนุรักษ์ไว้ พันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น ไทร ซึ่งได้รับสมญานามว่า “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” ผลของไทรเป็นอาหารให้สัตว์ป่าหลายชนิดรวมทั้งนกเงือก แต่ในขณะเดียวกันไทรก็เป็นต้นไม้ที่ต้องอิงอาศัยต้นไม้อื่นในการเจริญเติบโต จึงไปแย่งน้ำและอาหารทำให้ต้นไม้นั้นค่อย ๆ ตายไปในที่สุด เตยน้ำ เป็นไม้เลื้อยที่มีกลิ่นคล้ายตะไคร้ ภายในมีท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่สามารถนำมาดื่มได้ สุรามริด ใช้ดองเหล้าแก้ปวดหลังปวดเอว กะเพราต้น เป็นไม้ใหญ่ยืนต้น แก้เจ็บท้องขับลม เงาะป่า ผลมีขนแข็งสีเหลืองแต่รับประทานไม่ได้ และ กฤษณา ไม้ซึ่งสามารถสกัดเปลือกไปทำเครื่องหอมได้ เป็นต้น

สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นบ่อยได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้า นอกจากนี้ยังอาจพบช้างป่า หมีควาย หมูป่า ชะนี เม่น พญากระรอก หมาใน ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า รวมทั้งเสือโคร่ง กระทิงและเลียงผาซึ่งก็มีถิ่นอาศัยอยู่ที่เขาใหญ่เช่นกัน อุทยานฯได้สร้างหอสูงสำหรับส่องดูสัตว์อยู่สองจุด คือ บริเวณมอสิงโตและหนองผักชี อนุญาตให้ขึ้นไประหว่างเวลา 8.00-18.00 น. บริเวณที่ตั้งหอดูสัตว์เป็นทุ่งหญ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯจะเผาทุกปีเพื่อให้เกิดหญ้าอ่อน หรือหญ้าระบัดขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ และยังมีโป่งดินเค็มที่เป็นแหล่งเกลือแร่ของสัตว์ต่าง ๆ อยู่ด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งรถส่องสัตว์ในเวลากลางคืน สามารถติดต่อที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเวลา 18.00 น.

เขาใหญ่ยังเหมาะเป็นที่ดูนกและผีเสื้อ จากการสำรวจ พบนกจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิด และมีอยู่ 200 ชนิด ที่พบว่าอาศัยป่าเขาใหญ่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจได้แก่ นกเงือกซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าป่านั้นยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่พบบนเขาใหญ่มีอยู่ 4 ชนิด นอกจากนั้นยังมีนกที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ ส่วนแมลงที่สวยงามและพบเห็นมากคือ ผีเสื้อซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 ชนิด

การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
มีเส้นทางให้เลือกกว่า 20 เส้นทาง ที่ต่างกันทั้งความงามของธรรมชาติ และระยะทาง ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินป่า ซึ่งมีตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติกองแก้ว เส้นทาง กิโลเมตรที่ 33 (ถนนธนะรัชต์-หนองผักชี) หรือที่ต้องเข้าไปพักค้างแรมในป่า เช่น เส้นทางน้ำตกนางรอง-เขาใหญ่ เส้นทางเขาสมอปูน หรือเส้นทางหน่วยฯ ขญ.4-น้ำตกวังเหว เป็นต้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดและเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยาน
น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครนายก และนครราชสีมา ในฤดูฝนดูสวยงามมาก เหมาะแก่การเล่นน้ำ สามารถเข้าถึงได้โดยการเดินเท้า จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 100 เมตร มีสะพานเชือกทอดข้ามลำน้ำให้บรรยากาศการพักผ่อนที่กลมกลืน และบริเวณใกล้ๆ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นสั้นๆ
น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากที่ทำการฯประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงโดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้ และเป็นน้ำตกที่สายน้ำสองสายไหลผ่านชั้นหินทีละชั้นมาบรรจบกัน จากน้ำตกผากล้วยไม้มีทางเดินไปน้ำตกเหวสุวัตได้
น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ตั้งอยู่สุดถนนธนะรัชต์ รถเข้าถึง จากลานจอดรถเดินลงไปเพียง 100 เมตร หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะได้ เห็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงราว 20 เมตร มีจุดชมน้ำตกในระยะไกลที่สามารถมองผ่านแมกไม้ เห็นภาพของน้ำตกทั้งหมดในมุมสูงได้สวยงาม หรือหากต้องการสัมผัสกับสายน้ำตกและแอ่งน้ำด้านล่าง ก็มีทางเดินลัดเลาะลงไปได้ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะมาก ไหลแรง และเย็นจัดควรระมัดระวังอันตราย
น้ำตกเหวไทร-เหวประทุน จากน้ำตกเหวสุวัตมีป้ายบอกทางเดินต่อไป ยังน้ำตกสองแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นสายน้ำที่เชื่อมต่อกับน้ำตกเหวสุวัต ทางลงสู่น้ำตกชันมากและลื่นโดยเฉพาะหลังฝนตก บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก หากเดินไปอย่างเงียบ ๆ ระหว่างทาง อาจได้พบกับสัตว์เล็ก ๆ เช่น นก กระรอก
น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทำการฯลงมาทางทิศใต้ ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง จะแรงมากจนน่ากลัว และเมื่อกระทบหินเบื้องล่างจะแตกกระเซ็นสร้างความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ บริเวณน้ำตกเหวนรกเป็นเขตหากินของช้างป่า ซึ่งช้างมักจะไม่เปลี่ยนเส้นทางหากิน จึงมักเกิดเหตุโศกนาฎกรรมช้างพลัดตกเหวอยู่เนือง ๆ
น้ำตกไม้ปล้อง เป็นน้ำตกที่พบมานานแต่ได้รับการปรับปรุง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ มีทั้งหมด 5 ชั้น ลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวนรก หรือน้ำตกเหวสุวัต ตลอดเส้นทางเดินเท้าเรียงรายด้วยโขดหินเล็กใหญ่ และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปน้ำตกนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ จังหวัดนครนายกโดยต้องเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ขญ.9 (นางรอง)

การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 205 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 เส้นทางคือ แยกจากถนนมิตรภาพตรง กิโลเมตรที่ 56 ไปตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 23 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากกรุงเทพฯ-แยกหินกอง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสี่แยกเนินหอมใช้ทางหลวง 3077 ไปถึงเขาใหญ่ เส้นทางที่สองค่อนข้างชันเหมาะที่จะใช้เป็นทางลงมากกว่า
หากโดยสารรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ให้ลงที่อำเภอปากช่องแล้วต่อรถสองแถวขึ้นเขาใหญ่ บริเวณหน้าตลาดปากช่องรถจะไปถึงตรงแค่ด่านเก็บเงิน ค่ารถ 15 บาท มีบริการระหว่างเวลา 6.00-17.00 น. จากนั้นต้องโบกรถขึ้นไปยังที่ทำการฯ หรือจะเช่ารถจากปากช่องเลยก็ได้


ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บริเวณผากล้วยไม้จัดเป็นสถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 1,000 คน เสียค่าธรรมเนียม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท/คืน มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหาร และมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า นอกจากนั้นยังมีค่ายพักบริการอีก 2 แห่งคือ ค่ายพักกองแก้ว และค่ายพักเยาวชน ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้ รวม 250 คน และเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท ไม่มีเครื่องนอนให้ ติดต่อขออนุญาตที่ที่ทำการฯก่อนเวลา 18.00 น.

สอบถามรายละเอียดที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปณ.9 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 หรือ www.dnp.go.th 

สถานที่ท่องเที่ยวจ.นครศรีธรรมราช


อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช

 อุทยานแห่งชาติเขานัน
ห่างจากอำเภอท่าศาลา 30 กม. ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล และกิ่งอำเภอนบพิตำ นอกจากนี้อุทยานฯ ยังมีอาณาเขตที่ครอบคลุม เขาป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน และเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน อุทยานฯ แห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 436 ตรกม. ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแนวติดต่อมาจากอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นป่าต้นน้ำของคลองหลายสาย การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 จนข้ามคลองกลายผ่านบ้านสระแก้ว อำเภอท่าศาลา หลักกม.ที่ 110 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านปากเจา เข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ อีก 15 กม. ภายในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่

 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

น้ำตกสุนันทาเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความงดงามตามธรรมชาติ สายน้ำไหลจากหน้าผาชันลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างและไหลลงสู่ลำคลองกลาย ลำน้ำสายสำคัญในเขตอำเภอท่าศาลา สามารถจัดกิจกรรมล่องแพตามลำน้ำได้ในช่วงฤดูน้ำหลาก
น้ำตกกรุงนางเป็นน้ำตก 3 ชั้น ขนาดกลาง แต่ละชั้นสูงประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่ที่บ้านสวนปราง แยกจากเส้นทางไปบ้านปากลง เป็นทางลูกรังใช้ได้ตลอดปี
น้ำตกคลองปาวเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เป็นต้นกำเนิดของคลองกลาย ตลอดลำคลองกลายมีโขดหินสวยงาม การเดินทางใช้เส้นทางไปบ้านปากลงเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขานันที่ ขน. 1 (คลองกลาย) ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเดินเท้าต่อประมาณ 1 กม.ถึงน้ำตก ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ตั้งเต๊นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าหรือติดต่อที่อุทยานฯ ด้วยตนเองได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขานัน ตู้ ป.ณ. 51 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160

-----------------------------------------------------------------
หาดสระบัว
ห่างจากอำเภอเมือง 20 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 401 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังไปถึงชายหาดลักษณะชายหาดเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ ประกอบด้วยหาดสวรรค์นิเวศน์ หาดจันทร์เพ็ญ หาดสันติสุข หาดปากน้ำท่าศาลา หาดสระบัว หาดบ้านหน้าทัพ หาดบ้านปากพะยิง และหาดปากน้ำปากนคร แต่ที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดคือ หาดสระบัว บริเวณหาดสระบัวน้ำทะเลค่อนข้างขุ่นและมีตะกอนโคลน ไม่เหมาะกับ การเล่นน้ำทะเล แต่ได้รับความนิยมพอสมควรเนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองนครฯ มากที่สุด
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
หาดสระบัว
ท่องเที่ยว


-----------------------------------------------------------------
 
โบราณคดีวัดโมคลาน
อยู่ในเขตตำบลดอนคา ห่างจากตัวอำเภอ 10 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 401 ถึงบ้านหน้าทัพเลี้ยวซ้าย เข้าทางหลวงสาย 4022 อีก 6 กม. เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานของพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 หลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ แนวเสาหิน หินแกะสลักรอบประตูอาคารธรณีประตู ชิ้นส่วนโยนิและศิวลึงค์ สระน้ำโบราณ แท่นตั้งเทวรูป ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2518

 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
โบราณสถานวัดโมคลาน
ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวจ.นครปฐม


ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม


วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร

อำเภอเมือง จ.นครปฐม
เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 เนื่องจากรูปร่างของเจดีย์แบบโอคว่ำ มีลักษณะคล้ายกับสาญจีเจดีย์ในอินเดีย ซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์ใหม่เสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2413 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี พระเจดีย์องค์ใหม่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม รูประฆังคว่ำแบบลังกา มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว (หรือประมาณ 120.5 เมตร) ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17 วา 3 ศอก (หรือประมาณ 233 เมตร) ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามมากขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 พระปฐมเจดีย์ เปิดตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. ค่าเข้าชมชาวต่างประเทศ 40 บาท ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะมีงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ โทร. 0 3424 2143 นอกจากนี้ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือ หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท มาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2456 แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ไว้ในซุ้มวิหารด้านทิศเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดนครปฐมทั้งสมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป หินบดยา ลูกประคำดินเผา กำไลข้อมือ เงินโบราณ ฯลฯ และยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลและโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้ในพิธีศพของย่าเหลซึ่งเป็นสุ
นัขที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปรานมากและถูกคนลอบยิงตาย พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.30 น. (ปิดช่วงเวลา 12.00–13.00)

พุทธมณฑล

อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม
เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาล และประชาชนชาวไทยร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี บริเวณจุดศูนย์กลางของพุทธมณฑล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระประธานของพุทธมณฑลมีความสูง 2,500 กระเบียด (ประมาณ 15.875 เมตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” รอบองค์พระประธานเป็นสถานที่จำลองของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ตำบลอันเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ พระวิหารพุทธมณฑล ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช และที่พำนักสงฆ์อาคันตุกะ หอประชุมทางกิจการพระพุทธศาสนา ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน พิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา หอสมุดพระพุทธศาสนา สวนไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ และในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น เปิดเวลา 05.00-19.00 น. ผู้ที่จะเข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดแจ้งความจำนงได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์พุทธมณฑล โทร. 0 2441 9012, 0 2441 9009, 0 2441 9801-2, 0 2441 9440 กองพุทธสารนิเทศ โทร. 0 2441 4515

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงได้หลายเส้นทาง คือเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม ถึงประมาณกิโลเมตรที่ 22 เลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 4 ไปประมาณ 8 กิโลเมตร หรือเดินทางไปตามถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แล้วแยกเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 4 ไปเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยใช้ถนนพุทธมณฑลสาย 3 แยกเข้าสู่ถนนอุทยาน(อักษะ) เพื่อมุ่งเข้าสู่พุทธมณฑลได้ ถนนอุทยาน(อักษะ)เป็นถนนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยแนวเสาไฟประดับรูปกินรี น้ำพุและไม้ประดับต่างๆ มีทัศนียภาพที่สวยงาม 

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชวังสนามจันทร์)

อำเภอเมือง จ.นครปฐม
ตั้งอยู่ในตัวเมือง ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 โดยหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง พระที่นั่งเมื่อแรกสร้างมีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระราชทานนามตามประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 และต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466

การสร้างพระราชวังแห่งนี้มีมูลเหตุจูงใจมาจาก การบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งทำให้พระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อนเนื่องจากมีภูมิประเทศที่งดงาม ร่มเย็น นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง นั่นก็คือ ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะ สำหรับต้านทานข้าศึกซึ่งจะยกเข้ามาทางน้ำได้อย่างดี ด้วยทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้ และไม่ต้องการที่จะให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สองหากประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติพระราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบ และมีคูน้ำล้อมอยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวัง เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ เป็นตึก 2 ชั้นแบบตะวันตก ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงใช้เป็นที่ประทับโดยเฉพาะก่อนเสด็จฯขึ้นครองราชย์ เป็นที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้ามากกว่าพระที่นั่งอื่นๆ ภายในพระที่นั่งมีห้องต่างๆ อาทิ ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอยู่องค์หนึ่ง และมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร(จันทร์ จิตรกร) งดงามน่าชม และที่พระที่นั่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทับทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่นไม้สักมีขนาด 2 เมตร ชื่อว่า “พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์” ขณะนี้ทางการได้รื้อนำไปตั้งไว้หน้าพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น ปัจจุบันใช้เป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัดนครปฐม
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นตึก 2 ชั้น อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม ขณะนี้ใช้เป็นที่ทำการของศาลากลางจังหวัดนครปฐม
พระที่นั่งวัชรีรมยา เป็นตึก 2 ชั้น สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หลังคาซ้อน มียอดปราสาทมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีงดงาม มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ครบถ้วน พระที่นั่งองค์นี้เคยใช้เป็นที่บรรทม เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัด
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ อยู่ถัดจากพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยมีโถงใหญ่และหลังคาเชื่อมต่อกัน เป็นศาลาโถง ทรงไทย ยกสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่งเมตร และมีอัฒจันทร์ลงสองข้าง หน้าบันอยู่ทางทิศเหนือเป็นรูปจำหลักท้าวอมรินทราธิราชประทานพร ประทับอยู่ในพิมานปราสาทสามยอด พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ พระหัตถ์ซ้ายประทานพรแวดล้อมด้วยบริวาร ประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์ห้าหมู่ พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ออกงานสโมสรสันนิบาต เป็นท้องพระโรงเวลาเสด็จออกขุนนาง เป็นที่ประชุมข้าราชการและกองเสือป่า และใช้เป็นโรงละครสำหรับแสดงโขนอีกด้วย จึงมีชื่อเรียกติดปากชาวบ้านว่า “โรงโขน” พระที่นั่งมีลักษณะพิเศษ คือ ตัวแสดงจะออกมาปรากฏกายภายนอกฉากบนเฉลียงถึง 3 ด้าน มิใช่แสดงอยู่เพียงบนเวที โรงละครที่มีลักษณะดังกล่าวนี้มีอีก 2 แห่งคือ โรงละครสวนมิสกวัน และหอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ ปัจจุบันพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ใช้เป็นหอประชุมของจังหวัดนครปฐม หรือใช้ในพิธีต่าง ๆ ของทางราชการ
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามจันทร์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้นคล้ายปราสาทขนาดย่อมสีไข่ไก่ หลังคามุงกระเบื้องสีแดง สถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาร์ฟทิมเบอร์ของอังกฤษ สร้างแบบตะวันตกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักนี้ราวปี พ.ศ. 2451 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ ชั้นบนมีห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง ชั้นล่างทางทิศตะวันตกเป็นห้องรอเฝ้าฯ และเคยใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวในการออกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์ พระตำหนักหลังนี้ เคยใช้เป็นที่ประทับเมื่อเวลามีการซ้อมรบเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ และทรงใช้เป็นที่ประทับตลอดช่วงปลายรัชกาลเมื่อเสด็จพระราชวังสนามจันทร์
พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ เป็นเรือนไม้สักทอง 2 ชั้นแบบตะวันตกทาสีแดง ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค พระตำหนักองค์นี้ สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ เชื่อมติดต่อถึงกันด้วยฉนวนทางเดินทอดยาวลักษณะเป็นสะพาน หลังคามุงกระเบื้อง ติดหน้าต่างกระจกตลอดความยาวสองด้าน จากชั้นบนด้านหลังพระตำหนักชาลีฯ ข้ามคูน้ำมาเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ราวปี พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ พระตำหนักทั้งสองหลังสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากบทละครเรื่อง My friend Jarlet ของ Arnold Golsworthy และ E.B. Norman ซึ่งทรงแปลบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาไทยชื่อว่า “มิตรแท้” โดยทรงนำชื่อตัวละครในเรื่องมาเป็นชื่อของพระตำหนัก
พระตำหนักทับแก้ว เป็นตึกหลังเล็กซึ่งเคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว ปัจจุบันได้ปรับปรุง และตกแต่งสวยงาม ใช้เป็นบ้านพักของปลัดจังหวัดนครปฐม ภายในอาคารยังมีเตาผิงสำหรับให้ความอบอุ่น และมีภาพเขียนขาวดำของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บนแผ่นหินอ่อนสีขาวที่ผนังห้อง อนึ่งที่ดินบริเวณเบื้องหลังทับแก้วประมาณ 450 ไร่ ได้กลายเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
พระตำหนักทับขวัญ เป็นเรือนไทยภาคกลางที่สมบูรณ์แบบ สร้างด้วยไม้สักทอง ใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบฉบับบ้านไทยโบราณ ฝาเรือนทำเป็นฝาปะกนกรอบลูกฟัก เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม หลังคาเดิมมุงจาก หลบหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคือ พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) พระตำหนักทับขวัญ ประกอบด้วยกลุ่มเรือน 8 หลัง ได้แก่ เรือนใหญ่ 4 หลัง เรือนเล็ก 4 หลัง สร้างให้หันหน้าเข้าหากัน 4 ทิศบนชานรูปสี่เหลี่ยม เรือนหลังใหญ่เป็นหอนอน 2 หอ (ห้องบรรทมเป็นหอนอนที่อยู่ทางทิศใต้) อีก 2 หลังเป็นเรือนโถงและเรือนครัวซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนเรือนเล็กอีก 4 หลังนั้นตั้งอยู่ตรงมุม 4 มุมๆ ละ 1 หลัง ได้แก่ หอนก 2 หลัง เรือนคนใช้และเรือนเก็บของ เรือนทุกหลังมีชานเรือนเชื่อมกันโดยตลอด บริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันทน์แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์
เทวาลัยคเณศวร์ หรือเรียกว่า ศาลพระพิฆเนศวร ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าใหญ่ของพระราชวังสนามจันทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างศาลเทพารักษ์ขึ้น สำหรับพระราชวังสนามจันทร์ ประดิษฐานพระพิฆเนศวร์ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ เพื่อความเป็นสิริมงคลและเมื่อมองจากพระที่นั่งพิมานปฐมจะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศวร์และพระที่นั่งพิมานปฐม อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ศาลนี้เป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ มีผู้ศรัทธานับถือกันมาก จนเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระราชวังสนามจันทร์
อนุสาวรีย์ย่าเหล เป็นรูปหล่อด้วยโลหะขนาดเท่าตัวจริงของสุนัข ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิด กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง ย่าเหลเป็นสุนัขพันธุ์ทาง หางเป็นพวง สีขาวด่างดำ หูตก เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เป็นสุนัขของหลวงชัยอาญา (โพธิ์ เคหะนันท์) ซึ่งเป็นพะทำมะรง (ผู้ควบคุมนักโทษ) พระองค์ทรงพบเข้าเมื่อครั้งเสด็จฯตรวจเรือนจำ จึงนับว่าเป็นโชคของย่าเหลที่ทรงพอพระราชหฤทัย และทรงนำย่าเหลมาเลี้ยงไว้ในราชสำนัก ด้วยความที่ย่าเหลเป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด และจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน จนเป็นที่โปรดปรานมาก เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉาริษยาและลอบยิงย่าเหลตายในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกเศร้า อาลัยย่าเหลมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อรูปย่าเหลด้วยทองแดง ตั้งไว้หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และทรงพระราชนิพนธ์กลอนไว้อาลัยย่าเหล ติดไว้ที่แท่นใต้รูปหล่อนั้นด้วย
เรือนพระธเนศวร ในสมัยก่อนเคยใช้เป็นบ้านพักอาศัยของเจ้าพระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ ภายในจัดแสดงพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ มีห้องแสดงเรือกอและสิ่งของซึ่งนำมาจากหลายที่ เช่น จากพระตำหนักสวนจิตรลดาหรือพระราชวังบางปะอิน
นอกจากนี้ ภายในพระราชวังสนามจันทร์ ยังมีบ้านพักข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในที่ตามเสด็จ บ้านพักเหล่านี้ บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรม แต่หลายหลังยังอยู่ในสภาพดีที่เห็นได้ก็คือ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า “ทับเจริญ” ปัจจุบันนี้ ได้ใช้เป็นสถาบันวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก

สถานที่ท่องเที่ยวจ.นครสวรรค์


ประวัติจังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดนครสวรรค์
             นครสวรรค์เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง ถือเป็น ประตูสู่ภาคเหนือ มีพื้นที่ประมาณ       9,597 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก
                                                     ประวัติ ศาสตร์                                                                                                                                                                                                 นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ที่เรียกว่า “ปากน้ำโพ” ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า “ปากน้ำโผล่” และเพี้ยนมาเป็น “ปากน้ำโพ”
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่เจ้าสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่างๆ
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน
สถานที่ท่องเที่ยว  จ.นครสวรรค์
อำเภอแม่วงค์   จ.นครสวรรค์